วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เทคโนโลยีWiBro

 WiBro
(Wireless Broadband)

เทคโนโลยีสื่อสารเคลื่อนที่ และอินเตอร์เน็ตเป็นเทคโนโลยีที่ทรงอิทธิพล ที่กำลังเปลี่ยนแปลงวิถีชิตของผู้คนในโลกอย่างมากในขณะนี้ ในขณะที่เทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่กำลังพัฒนาด้านประสิทธิภาพอย่างรวดเร็ว จากยุค 1G (1st Generation ) สู่ 2G, 3G และ 4G ตามลำดับแล้ว ยังมีเทคโนโลยที่กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างยิ่งซึ่งมีต้นกำเนิดในประเทศเกาหลีใต้ เป็นบริการบรอดแบนด์ไร้สาย หรือ WiBro (Wireless Broadband) ที่ช่วยให้ผู้ใช้ยังคงสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยอุปกรณ์โมไบล์ได้ทุกที่ทุกเวลาโดยไม่จำเป็นต้องอยู่ใกล้ฮอตสปอตเท่านั้น เกาหลี ถือเป็นประเทศแรกที่เริ่มโครงการเทคโนโลยีบรอดแบนด์ไร้สาย เพื่อเชื่อมต่อช่องว่างที่ขาดหายไประหว่างเครือข่าย 3G และ 4G โดยคาดว่า WiBro น่าจะสามารถเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ได้ภายในเร็วๆนี้ ซึ่งจะทำให้การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบไร้สายในชีวิต
ประจำวันมีความต่อเนื่องตลอดเวลา แม้ขณะกำลังเดินทางอยู่ก็ตาม จุดเด่นของ WiBro ก็คือ มันจะเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยอุปกรณ์โมไบล์ได้ตลอดเวลา แม้ขณะเดินทาง โดยเทคโนโลยี WiBro จะตั้งอยู่บน
มาตรฐาน IEEE 802.16e หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ “mobile WiMAX” ซึ่งผู้ใช้จะเห็นข้อได้เปรียบของการใช้ WiBro ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น หากเกาหลีสามารถเปิดให้บริการในเชิงพาณิชย์ได้ก่อนผู้เล่นหลายๆ รายในตลาด WiMAX จะมีความพร้อม บริการ WiBro จะเร็วกว่า Wi-Fi ที่เปิดให้บริการสาธารณะ ผู้ใช้ไม่จำเป็นว่าจะต้องอยู่ใกล้ฮอตสปอตตลอดเวลา ซึ่งทำให้สมาชิกผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้อย่างอิสระในราคาที่ถูกอีกด้วย ผู้ใช้สามารถใช้บริการ WiBro บนรถยนต์ที่วิ่งด้วยความเร็ว 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมงได้อย่างสบายๆ ต่อไปจะมาดูว่า WiBro เกิดขึ้นได้อย่างไร มีความเป็นมาอย่างไรบ้าง และมีข่าวคราวเกี่ยวกับ Wibro อย่างไรบ้าง
วิวัฒนาการของ Mobile Wimax
ความเป็นมาของไวแม็กซ์ (WiMAX :Worldwide Interoperability for Microwave Access) นั้นเกิดจากการรวมตัวกันในปี 2544 ของบริษัทชั้นนำมราผลิตอุปกรณ์สื่อสารเครื่อนที่โดยมีจุดมุ่งหมายให้เกิดมาตรฐานสากล และทำงานร่วมกันได้ ซึ่งหมายถึงผู้ใช้บริการสามารถเลือกซื้ออุปกรณ์เครื่องรับไร้สายความเร็วสูงตามมาตรฐานไวแม็กซ์ของยี่ห้อใดๆ ก็ได้ แล้วสามารถนำมาใช้ร่วมกับอุปกรณ์เครื่องส่งของบริษัทอื่นๆ โดยเน้นไปที่การใช้งานในระดับที่กว้างขึ้นกว่าเทคโนโลยีไวไฟฮอตสปอต ซึ่งจะทำงานในย่านคลื่นระหว่าง 2.5 ถึง 66 กิกะเฮิรตซ์ สามารถให้บริการบรอดแบนด์ในราคาที่คุ้มค่าสำหรับบ้านเรือน ในรัศมีห่างออกไป 30 ไมล์ (48 กิโลเมตร) และสามารถส่งข้อมูลได้ราว70 เมกะบิตต่อวินาที โดยมุ่งเน้นการให้บริการข้อมูล (Data) มากกว่าเสียง (Voice) ไวแม็กซ์ได้รับการอนุมัติให้เป็นมาตรฐานระดับนานาชาติ โดยสถาบันวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Institute of Electrical and Electronics Engineers; IEEE) และมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า IEEE 802.16 มีการแตกเวอร์ชั่นย่อยออกมามากมาย ซึ่งการแบ่งมาตรฐานแบบนี้ ทำให้เชื่อได้ว่า มีความเป็นไปได้สูงที่ IEEE 802.16 จะประสบความสำเร็จ เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีอื่นๆ อินเทลได้ผลิตชิพเซตร่วมกับบริษัทหัวเหว่ย เพื่อใช้ในเทคโนโลยีไวเม็กซ์ขณะเดียวกันอินเทลก็มีแผนที่จะบรรจุเทคโนโลยีไว้แม็กซ์เข้าไว้เป็นส่วนหนึ่งของชิพเซตในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลด้วย ต่อไปคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั่วโลกจะซัพพอร์ตไวแม็กซ์ โดยปัจจุบันผู้ให้บริการโทรคมนาคมในมากกว่า 10 ประเทศเช่น เกาหลี โนมาโค อังกฤษ สเปน เม็กซิโก บราซิล ฮ่องกง อินเดียและและบางเมืองในรัฐแคลิฟฟอเนีย เริ่มทดลองใช้ไวแม็กซ์แล้ว อย่างไรก็ตาม ไวแม็กซ์ก็ยังมีจุดอ่อนอยู่คือ เมื่อมีการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง จะทำให้ประสิทธิภาพในการส่งข้อมูลลดลงอย่างมาก จนอาจถึงขั้นที่ไม่สามารถเชื่อมต่อการสื่อสารได้เลย นั่นคือยังมีปัญหาด้านโมบิลิตี้อยู่มาก จากปัญหาด้านโมบิลิตี้ของไวแม็กซ์ทำให้กลุ่มอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในประเทศเกาหลีเห็นเป็นโอกาสที่สำคัญ จึงได้ทำการพัฒนาระบบ ไวโบร้ (WiBro: Wireless Broadband) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "โมบาย ไวแม็ก (Mobile Wimax)” ซึ่งเป็นระบบสื่อสารเคลื่อนที่ที่อยู่บนมาตรฐานเดียวกันกับไวแม็กซ์โดยจัดไว้ในมาตรฐาน IEEE802.16 เช่นกัน และมีคุณลักษณะหลักใกล้เคียงกับไวแม็กซ์ "ไวโบร้" มีจุดแข็งที่สำคัญที่สามารถฉีกตัวออกมาเป็นเทคโนโลยีที่ไม่ซ้ำซ้อนและมีคุณลักษณะที่โดดเด่นกว่าเทคโนโลยีสื่อสารอื่น คือ ความสามารถในการดาวน์โหลดข้อมูลในระดับสูงกว่า 10 เมกะบิตต่อวินาที ในขณะที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงถึง 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง นั่นคือมีความสามารถ บรอดแบนด์ และโมบิลิตี้ (Broadband & Mobility) ร่วมกันทั้งสองประการ ซึ่งเป็น คุณลักษณะเด่นที่ยังหาไม่ได้ในเทคโนโลยีสื่อสารอื่นๆ ในขณะนี้ กลุ่มบริษัทโทรคมนาคมในประเทศเกาหลี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริษัท ซัมซุง ได้ให้ความสนใจและทุ่มทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี WiBro เป็นอย่างมาก โดยให้การสนับสนุนการทดลองใช้งานเพื่อการประชุมแบบมัลติมีเดียผ่านระบบ WiBro ในช่วงเทศกาลโอลิมปิคฤดูหนาว Torino 2006 อีกทั้ง บริษัท ซัมซุง ยังร่วมมือกับ บริษัท Sprint Nextel Corporation สร้างอุปกรณ์ต้นแบบเพื่อทดสอบการทำงานของระบบ

Mobile Wimax หรือ WiBro คืออะไร
          WiBro (Wireless Broadband) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Mobile WiMax คือ เทคโนโลยีสื่อสารตัวใหม่ที่ทำให้เราสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงได้ในขณะเคลื่อนที่ ซึ่งบรอดแบรนด์ไร้สายดังกล่าวนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นในประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นระบบสื่อสารเคลื่อนที่ที่ถูกจัดไว้ในมาตรฐาน IEEE 802.16 เช่นเดียวกับ WiMAX (Worldwide interoperability for Microwave Access) มีคุณลักษณะใกล้เคียงกับ Wimax แต่ถูกออกแบบให้รักษาการเชื่อมต่อในขณะที่ลูกข่ายมีการเคลื่อนที่ การติดตามและการรับสัญญาณขณะเคลื่อนที่ทำได้ที่ความเร็วสูงสุด 60 กม./ชม. ซึ่งต่างกับ WiMAX ที่ถูกออกแบบมาสำหรับการใช้งานในสภาวะหยุดนิ่ง เป็นเทคโนโลยีที่ถูกจับตาว่า เป็นปรากฎการณ์ใหม่ของตลาดการให้บริการสื่อสารอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่สามารถให้บริการทั้งในรูปแบบประจำ (fixed) เคลื่อนที่ตามจุด (Nomadic) และเคลื่อนที่อิสระ (Mobile) เพื่อการรองรับการทำงานของแอคพลิเคชั่นทั้งในรูปแบบของไฟล์ข้อมูล เสียงและวิดีโอ ดังนั้น ด้วยการเชื่อมต่อแบบเคลื่อนที่ตามจุด จะทำให้ผู้ใช้ไม่ถูกจำกัดการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ณ จุดใดจุดหนึ่ง แต่สามารถเลือกใช้งานจากจุดอื่นๆภายในเครือข่ายเดียวกันได้ ในขณะที่การเชื่อมต่อแบบอิสระ จะทำให้ผู้ใช้งานสามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ในทุกที่แม้ขณะกำลังเดินทาง
          ความสามารถในการทำงานร่วมกัน (interoperability) ของเทคโนโลยี Mobile WiMax ช่วยทำให้ผู้ใช้งานสามารถเชื่อมต่อไปยังบริการหรือแอพลิเคชั่นส์ต่างๆ จากอุปกรณ์ หรือเครือข่ายระดับโลกที่แตกต่างและหลากหลายบนมาตรฐานของ WiMax ได้
          บริการ WiBro จะเร็วกว่า Wi-Fi ถึง 25% โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นว่าจะต้องอยู่ใกล้ฮอตสปอตตลอดเวลา ซึ่งทำให้สมาชิกผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงใช้งานได้อย่างอิสระในราคาที่ถูกอีกด้วย WiBro มีคุณสมบัติที่ดีหลายประการคือ สามารถรับและส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วสูงถึง 50 Mbps โดยมีรัศมีการครอบคลุมได้ไกลถึง 5 กิโลเมตร นอกจากนี้ WiBro ยังรั บประกันคุณภาพการใช้บริการ (Quality of Service) จึงสามารถใช้รับและส่งข้อมูลที่ Loss-Sebsitive อื่นๆได้ด้วย ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า WiBro เหมาะอย่างมากกับบริการโทรคมนาคมยุคใหม่ที่เป็นแบบ Mobile Mutimedia
          โดยสรุปก็คือ WiBro หมายถึง บรอนด์แบรนด์ไร้สายที่ถูกพัฒนาในประเทศเกาหลีใต้ โดยมีคุณสมบัติที่เหมาะสมอย่างมากกับบริการโทรคมนาคมแบบ Mobile Multimedia คือสามารถรับและส่งข้อมูลได้ที่ความเร็วสูง โดยมีรัศมีการคลอบคลุมได้ไกล สามารถใช้งานในสภาวะเคลื่อนที่ได้ที่ความเร็วสูง และยังรับประกันคุณภาพการให้บริการด้วย


จุดเด่นของ WiBro

          คุณลักษณะเด่นในเชิงเทคนิคของระบบ WiBro ซึ่งบางทีอาจเป็นภัยคุกคามที่สามารถเข้าแทนที่ระบบสื่อสารที่มีอยู่ในปัจจุบันอย่าง High-speed Internet ADSL และ ระบบสื่อสารเคลื่อนที่เซลลูล่า สามารถสรุปได้ดังนี้คือ

(1) ความเร็วในการส่งข้อมูลในระดับ Broadband คือในระดับสูงกว่า 10 เมกกะบิตต่อวินาที

(2) ความสามารถในการสื่อสารในระดับ Broadband ระหว่างการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงถึง 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

(3) ระบบสื่อสารที่มีอยู่เดิมเช่นระบบสื่อสารเคลื่อนที่เซลลูล่า สามารถนำมาปรับปรุงต่อเติมทำให้เกิดระบบ WiBro ได้ไม่ยากนักและลงทุนไม่สูงจนเกินไป

(4) เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยอุปกรณ์โมไบล์ได้ตลอดเวลา แม้ขณะเดินทาง

          ตามรายงานข่าวมีการอ้างว่า ผู้ใช้สามารถใช้บริการ WiBro บนรถยนต์ที่วิ่งด้วยความเร็ว 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมงได้อย่างสบายๆ โดยซัมซุงได้สาธิตการใช้บริการ WiBro ด้วยอุปกรณ์โมไบล์ของทางบริษัทเป็นครั้งแรกในเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นการเริ่มต้นก่อนผู้ค้ารายอื่นๆ เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับทางบริษัทในการบุกตลาดนี้ต่อไป

               


                         การเชื่อมต่อ WiBro สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกสถานที่  เช่น บนรถ สนามบิน บนอาคาร
การพัฒนาเทคโนโลยีของ Mobile Wimax


Physical Layer ของ Mobile WiMAX
          802.16e นั้นก็ยังคงใช้งาน OFDMA (Orthogonal Frequency Division Multiple Access) เป็นหลักเช่นเดิม OFDMA เป็นเทคนิคการมัลติเพล็กซ์ทางความถี่ที่ไม่มีช่วงความถี่กันชน ช่วงสัญญาณความถี่ย่อยต่างๆ จะอยู่ชิดติดกันมากจนกระทั่งเกยกัน (Overlap) หลักการคือการใช้ความถี่ที่เป็นอิสระต่อกัน (Orthogonal) ซึ่งจะช่วยให้ช่วงความถี่ย่อยนั้นสามารถเกยกันได้โดยที่ไม่มีการรบกวนข้อมูลของกันและกัน ซึ่งสามารถใช้งานในแบนด์วิดธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า โดย OFDMA ได้แบ่งช่องสัญญาณต่างๆ เป็นช่องสัญญาณย่อย (Subchannel) ให้แก่ผู้ใช้แต่ละคน ซึ่งเทคนิคนี้จะกินแบนด์วิดธ์กว้างเท่าเดิม แต่จะได้ความเร็วในการรับส่งข้อมูลแบ่งกันไปใช้ สิ่งที่แตกต่างสำหรับ 802.16e คือจะใช้ Scalable OFDMA (S-OFDMA) ซึ่งมีแบนด์วิดธ์ที่แตกต่างกันเพื่อความเหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน ช่วยให้การจัดการแบนด์วิดธ์ของผู้ใช้งานแต่ละคนมีประสิทธิภาพมากขึ้น ต้องการใช้น้อยก็ให้แบบแบด์วิดธ์น้อย ถ้าใช้มากก็ให้มาก ทำให้รองรับจำนวนผู้ใช้งานได้มากขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น แบนด์วิดธ์ต่างกันนี้เกิดขึ้นจากการปรับขนาดของ Fast Fourier Transform (FFT) ที่ฝั่งผู้รับซึ่งใช้ในการถอดข้อมูลที่ใช้งานออกมาโดยที่ยังเว้นระยะระหว่างความถี่ sub-carrier ไว้ที่ 10.94 กิโลเฮิรตช์ โดยแบนด์วิดธ์ต่างๆ ที่จะมีได้แก่ 1.25, 5, 10 และ 20 เมกะเฮิรตช์ แต่ในรีลีสแรกนี้กลุ่มของ Technical Working Group ของ WiMAX Forum ได้กำหนดให้มีเพียงแค่ 5 และ 10 เมกะเฮิรตช์ก่อนเท่านั้น

         กลุ่มมาตรฐาน 802.16 ปกติจะ Backward compatible คืออุปกรณ์ในเวอร์ชันก่อนจะใช้ในเวอร์ชันถัดไปมีข้อยกเว้นขึ้นมา เพราะทั้ง OFDMA และ S-OFDMA จัดเป็นเทคโนโลยีที่แตกต่างกัน และไม่สามารถใช้งานร่วมกันได้ และใช้เทคนิคบางอย่างเหมือนกันก็ตาม แต่ข้อแตกต่างในรายละเอียดทีมากเกินไป
         ความแตกต่างของสิ่งที่ได้จากการใช้เทคโนโลยีแตกต่างกันนั้นก็คือการใช้ OFDMA นั้นค่อนข้างจะง่าย ไม่ซับซ้อน แต่ SOFDMA มีปัญหาด้านสัญญาณรบกวน interface น้อยกว่า มีความสามารถในด้านการทำงานแบบนอกแนวระยะสายตา (NLOS) ได้ดีกว่า การบริการที่ได้ในพื้นที่ต่างๆ จึงดีกว่าไปด้วย อาจจะมองไม่ค่อยเห็นภาพนัก ลองนึกถึงการทำงานแบบ LOS ที่ห้ามมีอะไรมาบดบังการรับส่งกัน ฉะนั้นหากเดินผ่านพุ่มไม้เล็กๆ การบริการก็จะมีปัญหาแล้ว ในขณะที่การทำงานแบบ NLOS จะไม่มีปัญหานี้มากนักจึงทำให้มีพื้นที่ใช้งานดีกว่า
          802.11e สามารถที่จะใช้งานได้ทั้งแบบ TDD, FDD และ Half-Duplex FDD อย่างไรก็ตามสำหรับเวอร์ชันแรกนี้ก็จะให้ใช้ได้เพียง TDD ซึ่งจะมีข้อดีต่างๆ ที่เหนือกว่า FDD ดังนี้
• การใช้ TDD จะทำให้เราสามารถปรับอัตราส่วนทราฟฟิกดาวน์ลิงก์และอัปลิงก์ได้ ทำให้เราสามารถจัดอัตราส่วนให้เหมาะสมกับการใช้งาน อย่างเช่น การดาวน์โหลดหรือการอัปโหลดต่างๆ ทำได้ดีขึ้น ได้ความเร็วและประสิทธิภาพที่ดีกว่า ในขณะที่ FDD จะทำได้แต่ในกรณีที่ดาวน์ลิงก์กับอัปลิงก์มีแบนด์วิดธ์เท่ากันเท่านั้น ใช้มากใช้น้อยก็แบ่งให้เท่านี้
• TDD จะมีระบบสนับสนุนการทำ Link Adaptation, MIMO และเทคโนโลยีด้านเสาอากาศรับส่งแบบ closed loop ที่ดีกว่า
• TDD จะมีช่องความถี่เดียวในการรับและส่งซึ่งจะมีข้อดีมากกว่า ในขณะที่ FDD จะต้องมีช่องความถี่เป็นคู่ ซึ่งทำให้การออกแบบภาครับส่งสัญญาณความถี่ยุ่งยากและมีราคาแพงมากขึ้น และยังอาจจะยุ่งยากต่อการกำหนดช่วงความถี่ในประเทศต่างๆซึ่งอาจมีการใช้งานความถี่บางช่วงไปแล้วก็ได้
          สำหรับการมอดูเลชันและการเข้าโค้ดนั้น 802.11e ยังคงใช้งาน QPSK, 16QAM และ 64QAM พร้อมกับการทำ Link Adaptation เช่นเดิมหากแต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงการเข้ารหัสโดยหันมาใช้ Convolutional Code และ Convolutional Turbo Code แทน
 ลักษณะพิเศษของ Mobile WiMAX

1. เทคโนโลยี Smart Antenna
          เป็นเทคโนโลยีรุ่นใหม่ที่ว่ากันว่าเป็นอนาคตของระบบการสื่อสารไร้สายซึ่งเราอาจเรียกว่าการใช้เทคโนโลยี MIMO (Multiple Input Multiple Output) ก็ได้ โดยมีการใช้เสาอากาศรับส่งมากกว่า 1 ตัว มีการทำงานแบบ Spatial Multiplexing (SM) ซึ่งเป็นการเพิ่มอัตราการรับส่งข้อมูลจากการที่มีเสาอากาศ 2 ชุดด้วย ถ้าหากมีการแยกกันส่งเป็นชุดข้อมูล 2 ชุดก็จะได้ความเร็วในการรับส่งข้อมูลเป็น 2 เท่า ดาวน์ลิงค์จาก 30 Mbps ก็จะกลายเป็น 60 Mbps และอัปลิงค์จาก 14 Mbps จะเป็น 28 Mbps เป็นต้น (ตัวเลขที่คำนวณจากการส่งดาวน์ลิงค์หรืออัปลิงค์เพียงอย่างเดียว และใช้ช่องสัญญาณ 10 เมกะเฮิรตซ์) และมีการทำ Beam Forming ซึ่งเป็นเทคนิคในการใช้เสาอากาศหลายๆ ตัวช่วยในการเพิ่มพื้นที่ครอบคลุมของสัญญาณในบางพื้นที่ ทำให้มีระดับการให้บริการดีขึ้นระบบ OFDMA ในไวแมกซ์นั้นเหมาะสมกับการใช้เทคโนโลยี Smart Antenna ดังนั้น Mobile WiMAX จึงสนับสนุนการใช้งานที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ตัวอย่างเช่น ในสภาพที่สัญญาณดีๆ ก็จะใช้ในลักษณะ SM เพื่อให้ได้ความเร็วเพิ่มขึ้นหากเมื่อมีสัญญาณที่เริ่มไม่ดีก็จะเปลี่ยนมาใช้ STC เพื่อให้ได้คุณภาพที่ดีขึ้น เป็นต้น

2. Fractional Frequency Reuse

          Mobile WiMAX จริงๆ แล้วสามารถที่จะทกงานได้ด้วยความถี่ชุดเดียวกันหมดทุกๆ สถานีฐาน ซึ่งจะให้ประสิทธิภาพด้านความถี่สูงที่สุด แต่ด้วยรูปแบบการใช้งานเช่นนี้ จะมีระดับความถี่รบกวนสูง และจะทำให้ผู้ใช้งานที่ขอบสัญญาณใช้งานได้ไม่ดี มีปัญหาในเรื่องของคุณภาพสัญญาฯมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับ Mobile WiMAX ที่ต้องมีการ Handoff แต่ละสถานีฐานต้องมีพื้นที่สัญญาณครอบคลุมทับซ้อนกันล้าง ทำให้ความถี่รบกวนซึ่งกันและกันสูงขึ้น ดังนั้นด้วยความสามารถของ Mobile WiMAX ที่ตัดแบ่งช่วงความถี่ใช้งานได้นั้นก็สามารถที่จะนำหลักการ Frequency Reuse ของระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วๆ ไปมาใช้งานเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องความถี่รบกวนได้ ที่เรียกว่า Fractional Frequency Reuse
          เทคนิคการทำ Fractional Frequency Reuse จะมีการแบ่งโซนและการแบ่งช่องสัญญาณย่อย ซึ่งโซนด้านในจะทำงานด้วยช่องสัญญาณย่อยทั้งหมดที่มี ขณะที่โซนชั้นนอกก็จะทำงานด้วยช่องความถี่ย่อยเฉพาะที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งก็จะเป็นการแบ่งความถี่ใช้งานและสกัดกั้นไม่ให้เกิดความถี่รบกวนกันในพื้นที่ให้บริการที่ใกล้ชิดติดกันได้ ซึ่งจะมีการกำหนดการแบ่งโซนและช่องสัญญาณในโครงสร้างเฟรมของการรับส่งข้อมูล และอาจปรับเปลี่ยนได้ในแต่ละเฟรม ขึ้นกับระดับความถี่รบกวนที่เกิดขึ้น
          อย่างที่ทราบกันแล้วว่า Wibro เป็นรูปแบบบรอดแบรนไร้สายที่ได้รับการสนับสนุนจากผู้ใช้และผู้ขายเกาหลีใต้ จะกลายเป็นการเข้าถึงเทคโนโลยีที่ถาวรไม่ใช่เพียงธุรกิจอินเตอร์เน็ตไร้สายในเกาหลีใต้เท่านั้น แต่ยังรวมถึงพื้นที่ทั่วโลก บริษัทต่างๆ ในประเทศเกาหลีได้มีการเตรียมเปิดตัวบริการการค้า Wibro ผู้ขาย Wibro และผู้ใช้ในเกาหลีใต้กำลังสร้างกระบวนการที่เร็วกว่า WiMax ในเงื่อนไขของความพิเศษและการตลาด Wibro ไม่เพียงแต่จะเป็นการใช้ที่ชาญฉลาด ซึ่งเติมเต็มสภาพการใช้งานปัจจุบันของเกาหลีเท่านั้น แต่ยังกลายเป็นที่ยอมรับในระดับโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ Wibroได้ให้การเข้าถึงด้วย IEEE 802.16e WiBro ถูกนำเสนอออกสู่ตลาดทั่วโลก รัฐบาลญี่ปุ่นยอมรับ WiBro พร้อมๆ กับยอมรับในโทรศัพท์เคลื่อนที่ WiMax ว่าเป็นคู่แข่งมาตรฐานไร้สายบรอดแบรนด์รุ่นใหม่ ขณะนี้ WiBro กับ VoIP สามารถใช้ประโยชน์มากมายทั้งในแง่เศรษฐกิจและการพัฒนาที่รวดเร็ว เพื่อผู้ใช้ทั่วโลก

          Andy Bae นักวิเคราะห์อาวุโส กล่าวว่า ผู้ใช้ชาวเกาหลีมีความต้องการใช้บริการมัลติมีเดียไร้สายผ่านอินเตอร์เน็ตสูง และการรุกตลาดของ KT ในแผน WiBro as Next Growth Engine ซึ่งเป็นแผนที่ร่วมกับ SK Telecom-backed HSDA, WiBro ในเกาหลีใต้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี อย่างน้อยที่สุดผู้ขายควรระมัดระวังด้านความชอบของผู้ใช้และความทางตลาด เพื่อประโยชน์ในการบริการ
         ผลการวิจัยของ ABI Research พบว่า การตรวจสอบ WiBro เกาหลีใต้ในด้านบริการ และรูปแบบทางเทคนิค การให้ประโยชน์และแนวทาง ซึ่งเปรียบเทียบระหว่าง CDMA IX/EV-DO ระบบไร้สาย LAN, DNB และ HSDPA และทดสอบจุดเด่นทางธุรกิจ WiBro ของชาวเกาหลี การศึกษาแนะนำกลยุทธ์สำหรับการพัฒนาบริการ และเสนอแผนงานสำหรับผู้ใช้ทั่วโลก ผู้ขายชิบและอุปกรณ์ต้องพิจารณาโทรศัพท์เคลื่อนที่ WiMax และ WiBro ในตลาดโลก การศึกษายังรวมถึงการพยาการณ์สำหรับสมาชิกผู้ใช้ ช่องทาง อุปกรณ์ ผลตอบแทนและอื่น ๆ
          ในขณะที่มีการถกเถียงกันอย่างมากมายเกี่ยวกับ Broadband Wireless Access กับการเติบโตของ WiMax และเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่ประสบความสำเร็จแล้ว เช่น IPWireless UMTS TDD หรือ Flarion’s Flash OFDM รัฐบาล เกาหลีอยู่เบื้องหลังและให้การสนับสนุนความคิดริเริ่มทำมาตรฐาน BWA สำหรับใช้ในบ้านให้สามารถส่งออกทั่วโลก รัฐมนตรีกระทรวงสารนิเทศและการสื่อสารเกาหลีสนับสนุน WiBro ตอนนี้ WiMax เติบโตอย่างรวดเร็วและสถานการณ์ทางการค้าอื่น ๆ ทำให้ WiBro หมดโอกาสที่จะตีตลาดต่างประเทศ แม้ว่า WiBro จะประสบความสำเร็จในประเทศเกาหลี แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จมากนักในตลาดต่างประเทศ WiBro ถูกออกแบบให้เป็นอินเตอร์เน็ตพกพา ไม่ใช่เป็นเพียงแค่โทรศัพท์มือถือธรรมดาเท่านั้น สามารถทำงานด้วยความเร็ว 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และ handoffs ได้ 150 เมตร ที่น่าสนใจคือในเขตพื้นที่ชนบทที่ WiBro สามารถตอบสนองความต้องการได้กว้างมากขึ้นครอบคลุมนอกเขตพื้นที่ ในขณะที่ EV-DO ไม่สามารถทำได้ ตามรูปแบบแนวคิด EU คือ เกาะของ W-CDMA ในทะเลของ EDGE เป็นความแตกต่างทางวัฒนธรรมที่น่าสนใจ เพราะบริษัทตะวันตกมักถูกกำหนดรูปแบบตามมาตรฐานที่เข้มงวดของรัฐบาล แต่ในประเทศแถบเชีย เช่น เกาหลี ญี่ปุ่นและจีน จะสร้างมาตรฐานตามระบบการจัดการของบริษัท เพื่อให้สามารถพัฒนาศักยภาพได้อย่างรวดเร็วและสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ บางตัวสู่ตลาดโลก แต่โอกาสที่จะพัฒนาเทคโนโลยีเช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยนัก สำหรับ WiBro มีโอกาสที่จะพัฒนาได้อย่างรวดเร็ว ถ้าเกาหลีสามารถพัฒนาได้ตามแนวทางที่ได้พัฒนาไว้แบบ WiMax ‘e’ ที่เกาหลีก้าวสู่ความเป็นผู้นำและผู้เชี่ยวชาญทางโทรศัพท์มือถือ ชาวเกาหลีไม่ได้วางเป้าหมาย WiBro เพื่อแทนที่ DSL นับตั้งแต่ตลาดเกาหลีใต้ได้อิ่มตัว แต่ไม่เร็วเกินไปนักที่กล่าวได้ว่า WiBro เป็นการรวม 2 เทคโนโลยีใหม่คือ Flash-OFDM และ UMTS TDD ที่สมบูรณ์ที่สุด บริษัท KT ได้ทำการสาธิตบริการบนเส้นทางด่วนระหว่างโซล-ปูซาน และรถไฟใต้ดินระหว่างโซล-ปูซาน ทาง KT จะสาธิตเครือข่าย WiBro ให้แก่พนักงานของบริษัทจำนวน 200 คน และจะเปิดตัวต่อสาธารณชน บริการจ่ายเงินจะเริ่มต้นในส่วนของโซลและจังหวั Kyonggi ซึ่งเป็นพื้นที่ใกล้เคียง พื้นที่บริการแรกจะเป็น 16 กิโลเมตรในส่วนของเส้นทางด่วน Kyongbu จากจุดเริ่มต้นสะพาน Hannam ในกรุงโซลไป Pangyo เช่นเดียวกับส่วนของรถไฟใต้ดินความยาว 25 กิโลเมตรจากสถานี Sollung ในทางตอนใต้ของกรุงโซล ไปยังสถานี Ori ใน Pundang จังหวัด Kyonggi ซึ่งพร้อมสำหรับการเชื่อมต่อ WiBro
          WiBro เป็นชื่อย่อของ wireless broadband ซึ่งเป็นเครือข่ายเข้าถึงอินเตอร์เน็ตเคลื่อนที่ความเร็วสูงสุด แม้ว่กำลังอยู่ในพาหนะที่กำลังขับเคลื่อน เช่น รถยนต์ รถไฟ และแม้แต่ในรถไฟใต้ดิน ด้วยความเร็วสูงสุดกว่า 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง บริการอินเตอร์เน็ตบนถนนถูกเลือกให้เป็นบริการอินเตอร์เน็ตสำหรับคนรุ่นใหม่ ซึ่งได้รับความสนใจจากสาธารณชนอย่างกว้างขวาง เมื่อแสดงการสาธิตต่อหน้าสื่อมวลชนทั้งภายในประเทศและต่างประเทศซึ่งประสบผลสำเร็จอย่างดี ระหว่างการประชุมร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกที่เมืองปูซาน บริษัท KT และ SK Telecom ผู้นำบริการโทรศัพท์มือถือ ได้ปรึกษาเกี่ยวกับโครงการ WiBro สำหรับออกตัวในประเทศ บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ได้แก่ ซัมซุงอิเล็กทรอนิกส์ ได้ทำสัญญาที่จะร่วมลงทุนในการพัฒนาช่องทาง WiBro เครือข่าย WiBro สามารถให้บริการดาวน์โหลดความเร็ว 4 เมกะไบท์ต่อวินาที ซึ่งใกล้เคียงหรือช้ากว่า ADSL ซึ่งเป็นบริการอินเตอร์เน็ตระบบบรอดแบรน เมื่อWiBro พร้อมใช้ ประชาชนสามารถเข้าใช้เครือข่ายได้โดยใช้ การ์ดชนิดผู้รับ สำหรับเครื่องแล๊ปทอป หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กพกพาอื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ดิจิทัลส่วนบุคคลบางรุ่นที่ขายในร้านที่มีตัวรับ WiBro อยู่ในเครื่องเรียบร้อยแล้ว
         คุณลักษณะเด่นในเชิงเทคนิคของระบบ WiBro อาจเป็นภัยคุกคามที่สามารถเข้ามาแทนที่ระบบสื่อสารที่มีอยู่ในปัจจุบันอย่างไฮ-สปีด อินเตอร์เน็ต ADSL และระบบสื่อสารเคลื่อนที่เซลลูลาร์

เปรีบเทียบการลงทุนเทคโนโลยี HSPA และ เทคโนโลยี Mobile WiMax (WiBro)

          สมาคม GSM เปิดเผยผลการศึกษาเปรียบเทียบการลงทุนเทคโนโลยีระหว่าง HSPA(High Speed Packet Access) และ Mobile WiMax โดยสรุปผลของการศึกษาชี้ให้เห็นแนวโน้มของเทคโนโลยี HSPA คุ้มค่าในการลงทุนและมีการใช้งานแพร่หลายมากกว่า HSPA เป็นเทคโนโลยีสำหรับโมบายบรอดแบนด์ที่พัฒนาขึ้นจากพื้นฐานของตระกูล 3GPP เพื่อให้บริการทั้งทางด้านเสียงที่ดีเยี่ยมและให้ความเร็วในการรับส่งข้อมูลบนบรอดแบนด์ที่ผู้ใช้ต้องการ HSPAได้รับการพิสูจน์แล้วจากทั่วโลกโดยมีการใช้งานในเชิงพาณิชย์กว่า 150 เครือข่าย HSPA สามารถสร้างขึ้นบนโครงข่ายจีเอสเอ็มในปัจจุบันหรืออัพเกรดซอฟต์แวร์ของเครือข่าย WCDMA ที่ได้ติดตั้งไว้แล้ว นอกจากนี้ยังมีเครื่องลูกข่ายแบบดูอัลโหมดที่พัฒนาเพื่อให้ครอบคลุมทั้งบริการทางเสียง (GSM/WCDMA) และข้อมูล (HSPA/EDGE)

          ได้มีรายงานข่าวว่า บริษัท แปซิฟิค อินเตอร์เน็ต จำกัด ผู้ให้บริการการสื่อสารอินเตอร์เน็ตที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจกับ บริษัท อินเทล เทคโนโลยี เอเชีย จำกัด ผู้นำการผลิตชิพซิลิกอนในการร่วมกันสร้างโครงข่าย WiMax เคลื่อนที่ (Mobile WiMax) เป็นเจ้าแรกในสิงคโปร์

          Mobile WiMax หรือเทคโนโลยีสายเคลื่อนที่มาตรฐาน IEEE’s 802.16e ของสถาบัน Institute of Electrical and Electronic Engineers นั้น ถูกจับตาว่าเป็นปรากฎการณ์ใหม่ของตลาดการให้บริการสื่อสารอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงที่สามารถให้บริการทั้งในรูปแบบประจำ(fixed) เคลื่อนที่ตามจุด (Nomadic) และเคลื่อนที่อิสระ (Moblie) เพื่อการรองรับการทำงานของแอพพลิเคชั่นทั้งในรูปของไฟล์ข้อมูล เสียงและวิดีโอ ดังนั้น ด้วยการเชื่อมต่อแบบเคลื่อนที่ตามจุด จะทำให้ผู้ใช้ไม่ถูกจำกัดการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต ณ จุดใดจุดหนึ่ง แต่สามารถเลื่อกใช้งานจากจุดอื่น ๆ ภายในเครือข่ายภายเดียวกัน ในขณะที่การเชื่อมต่อแบบอิสระ จะทำให้ผู้ใช้งานสามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ในทุกที่แม้ขณะกำลังเดินทาง
          ภายใต้ความร่วมมือนี้ แปซิฟิค อินเตอร์เน็ต และอินเทล มุ่งที่จะนำความก้าวหน้าเทคโนโลยีไร้สายมาสู่งสิงคโปร์และภูมิภาคเอเชีย เพื่อให้ภาคธุรกิจ ผู้ใช้งานทั่วไป และให้ผู้บริการข้อมูลและแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ร่วมถึงหน่วยงานของรัฐบาลได้รับประโยชน์อันมหาศาลจากเทคโนโลยีดังกล่าว

          ความสามารถในการทำงานร่วมกัน (interoperability) ของเทคโนโลยี Mobile WiMax ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเชื่อต่อไปยังบริการหือแอพลิเคชั่นต่าง ๆ จากอุปกรณ์ หรือเครือข่ายระดับโลกที่แตกต่างและหลากหลายบนมาตรฐานของ WiMax ได้ ผู้ใช้งานทั่วไป จะเพลิดเพลินกับอิสระในการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายทั่วทั้งเกาะสิงคโปร์ เพื่อการสื่อสาร ความบันเทิงและการค้า ขณะเดียวกัน แอพลิเคชั่นทางธุรกิจ เช่น กระตุ้นการขายแบบเคลื่อนที่ การซ่อมบำรุงนอกสถานที่ การบริหารทรัพย์สิน การรักษาความปลอดภัย และการตลาด ก็จะได้รับประโยชน์จากขีดความสามารถของความเร็วสูงเคลื่อนที่ของ WiMax ด้วยเช่นกัน
          เครือข่ายถือเป็นกุญแจสำคัญสำหรับการรับมือกับการดูแลรักษาความปลอดภัยและเหตุการณ์คับขันในสาธารณะ ที่ต้องการตอบสนองอย่างเร่งด่วน เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจเชื่อมต่อไปยังฐานข้อมูลในขณะที่เดินทางไปยังที่เกิดเหตุและแพทย์สามารถเห็นสภานของคนเจ็บที่อยู่บนรถพยาบาล เพื่อเตรียมการรักษาได้ก่อนที่คนไข้จะมาถึงโรงพยาบาล
          มร. เควิน ลิม กรรมการผู้จัดการของแปซิฟิค อินเตอร์เน็ต สิงคโปร์ กล่าวว่า “Mobile WiMax” เป็นการพัฒนาที่น่าตื่นเต้นสำหรับสิงคโปร์ เนื่องจากเทคโนโลยีนี้คือการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตความเร็วสูงส่วนบุคคลที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงโปรแกรมและข้อมูลต่าง ๆ ได้ในทุกสถานที่ และยังช่วยเพิ่มขีดความสามารถของการทำงานแบบเคลื่อนที่ให้กับองค์กรทั้งในด้านการสื่อสาร และประสิทธิผลของธุรกิจได้มากขึ้น ตลอดจนยังเป็นการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้กับผู้ผลิตข้อมูลและผู้ให้บริการแอพลิชั่นต่าง ๆได้ด้วย
          ภายใต้สัญญาดังกล่าว บริษัททั้งสองจะทำการศึกษาและทดลอง เพื่อทำความเข้าใจกับความต้องการและพฤติกรรมของตลาด โดยแปซิฟิค อินเตอร์เน็ตจะใช้ความรู้ความชำนาญและประสบการณ์ระดับโลกของอินเทล ในเทคโนโลยี WiMax และการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตไร้สาย ตลอดจนพันธมิตรหลักและผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างต้นแบบทางธุรกิจในการนำเสนอบริการอินเทอร์เน็ตไร้สายที่แปลกใหม่ และเป็นประโยชน์กับผู้ให้บริการทั่วโลก นอกจากนี้ ทั้งสองบริษัท ยังจะร่วมกันจัดทำบทความเอกสารเผยแพร่เพื่อแบ่งปันความรู้อีกด้วย
          มร.แพทริค ลิว ผู้จัดการประจำสิงคโปร์ของอินเทล เทคโนโลยีเอเชีย กล่าวว่า ความร่วมมือของเรากับแปซิฟิค อินเทอร์เน็ต แสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยี WiMax สามารถเกิดขึ้นได้จริง โดยอินเทลยังคงพัฒนาโซลูชั่นส์ต่าง ๆ ที่อยู่บน WiMax ให้มีต้นทุนที่เหมาะสมตามระบบเศรษฐกิจ โดยในอนาคต Mobile WiMax จะสามารถทำงานรวมกับอินเตอร์เน็ตไร้สายอื่น ๆ เพื่อการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตความเร็วสูงได้จากทุกสถานที่ ซึ่งจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานของทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ การศึกษา ตลอดจนการสื่อสารของบุคคลทั่วไป
          มร.เฟเทก โม President และ CEO ของแปซิฟิค กล่าวว่า ข้อตกลงนี้เป็นการแสดงให้เห็นถึงการนำสิทธิประโยชน์ใหม่ ๆ มาให้กับลูกค้า ผ่านความร่วมมือกับพันธมิตรชั้นนำทางด้านเทคโนโลยี อย่างเช่น อินเทล ซึ่ง แปซิฟิค อินเทอร์เน็ต จะสร้างสรรค์บริการที่แตกต่างให้กับลูกค้า ด้วยการผนวกประสบการณ์และฐานธุรกิจในภูมิภาคเอเชียที่แข็งแกร่งเข้ากับผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นสำหรับอนาคตจากคู่ค้า เพื่อนำเสนอให้กับลูกค้าในทุก ๆ ประเทศที่อยู่ในเครือข่ายของแปซิฟิค อินเทอร์เน็ต ทางบริษัทได้ทำการทดลองให้บริการแก่ลูกค้าเฉพาะกลุ่มในกลางปี 2549 ไปแล้ว และได้ทำการทดสอบการทำงานทั้งแบบ Nomadic และ Mobile เพื่อให้การเชื่อมต่อและคุณภาพของการบริหารเป็นไปอย่างราบรื่น เมื่อลูกค้าต้องใช้งานในระบบเครือข่ายของ WiMax ขณะเดินทาง

แหล่งที่มาของข้อมูล

http://www.guru-ict.com/guru/files/WiBro_WiMax.doc
http://www.guru-ict.com/
http://www.ryt9.com/s/prg/67775
http://www.mvt.co.th/viewnews
http://coffeemear.exteen.com/
http://www.adslcool.com/it/viewrecord.php?id=61

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น